วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563

แบบทดสอบบทที่3

1. สารละลายที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างธาตุ หมู่ 1 กับน้ำ มีสมบัติอย่างไร

ก. เป็นกลาง

ข. เป็นได้ทั้งกรดและเบส

ค. เป็นกรด

ง.  เป็นเบส

2. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับพันธะเคมี

ก. รับอิเล็กตรอนจากอะตอมอื่น

ข. ใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน

ค. แย่งอิเล็กตรอนกับอะตอมอื่น

ง. ให้อิเล็กตรอนกับอะตอมอื่น

3. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของสารประกอบไอออนิก

ก. จัดเรียงตัวเป็นผลึก

ข. เกิดจากการรวมตัวของไอออนบวกกับไอออนลบ

ค. มีผลรวมของประจุสุทธิ เป็น ศูนย์

ง. นำไฟฟ้าได้ทุกสถานะ

4. เหตุใดสารโคเวเลนท์จึงมีจุดเดือด จุดหลอมเหลวต่ำ

ก. สารโคเวเลนท์มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย

ข. สารโคเวเลนท์มักสลายตัวได้ง่าย

ค. สารโคเวเลนท์ไม่มีประจุไฟฟ้า

ง. สารโคเวนเลนท์มักมีโมเลกุลขนาดเล็ก

5. พันธะเดี่ยว หมายถึงอะไร

ก. อะตอมของธาตุรวมกันอยู่โดยใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่

ข. อะตอมของธาตุใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่

ค.  อะตอมของธาตุใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่อะตอม

ง. โมเลกุลของธาตุใช้ร่วมกันอยู่ 1 โมเลกุล

6. อะตอมของธาตุที่มีการถ่ายประจุแล้วมีโปรตอนมากกว่าอิเล็กตรอนเราเรียกอะตอมของธาตุนั้นว่าเป็นไอออนชนิดใด

ก. ไอออนบวก

ข. ไอออนลบ

ค. ไอออนเสถียร

ง. ไอออนสมดุล

7. ข้อใดจัดว่าเป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล

ก. พันธะไอออนิก

ข. พันธะโควาเลนต์

ค. พันธะไฮโดรเจน

ง. พันธะโลหะ

  8. การที่อะตอมพยายามปรับตัวเองให้อยู่ในสภาพเสถียรโดยทำให้อิเล็กตรอนวงนอกสุดเท่ากับ 8 เราเรียกกฎนี้ว่าอะไร

ก. กฎออกซิเดชั่น

ข. กฎออกเตต

ค. กฎโคเวเลนต์

ง. กฎไอออนิก

9. พันธะเคมี หมายถึง อะไร

ก. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม

ข. พลังงานที่ทำให้อะตอมสลายตัว

ค. การอยู่รวมกันของอะตอม

ง. การอยู่รวมกันของโมเลกุล

10. การเกิดสารประกอบไอออนิกส่วนใหญ่จะเกิดจาก ธาตุประเภทใดมารวมตัวกัน

ก. เกิดได้ทั้งหมด

ข. โลหะ กับ โลหะ

ค. อโลหะ กับ อโลหะ

ง. โลหะ กับ อโลหะ


11. ตารางแสดงค่าพลังงานพันธะเฉลี่ยในสารไฮโดรคาร์บอน

ชนิดพันธะ

พลังงานพันธะ

C - H 

413

C - C 

348

การสลายพันธะโพรเพน (C3H8)  0.5 โมล จะต้องใช้พลังงานมากกว่าหรือน้อยกว่าการสลายพันธะอีเทน (C2H6)  0.5 โมล  เท่าไร
     ก. มากกว่า 587 kJ     ข. น้อยกว่า 283 kJ      ค. มากกว่า 526 kJ     ง. น้อยกว่า 278 kJ

12. สาร X เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว สาร Y เป็นโมเลกุลมีขั้ว ส่วนสาร Z เป็นพันธะไม่มีขั้ว ถ้าขนาดของโมเลกุลของ X>Y>Z แล้วสาร X Y และ Z ควรเป็นดังข้อใด 

ก. CH2 , NH3 , C6H6      

ข. BeCl2 , CH2Cl2 , S8     

ค. Br2 , H2O , H2      

ง. SiH4 , PCl3 , PCl5 

13.  X เป็นสารประกอบของธาตุ Ca และ F มีจุดหลอมเหลวสูง ไม่นำไฟฟ้าที่อุณหภูมิห้อง และละลายน้ำได้น้อยมาก ข้อสรุปใดต่อไปนี้ ไม่ สอดคล้องกับข้อมูลข้างต้น
      ก. พันธะในสาร X เป็นพันธะไอออนิก              
      ข. เมื่อ X ละลายน้ำ จะดูดความร้อน ทำให้ละลายได้น้อย
      ค. X มีสูตร CaF2 ผลึกมีความแข็งแรงมากจึงละลายได้ยาก     
      ง. สาร X เมื่อหลอมเหลวจะนำไฟฟ้า



14.สาร X , Y , Z มีพลังงานพันธะเป็น 120 , 200 , 90 kJ/mol ตามลำดับ จงเรียงความยาวพันธะจากน้อยไปมาก

      ก. X , Y , Z            ข. Z , Y , X                ค. Y , X , Z              ง. Z , X , Y
 
15.ธาตุ Z มีพลังงานไอออไนเซชันตั้งแต่ลำดับที่หนึ่งถึงลำดับที่ 8 เป็นดังนี้ 1.320, 3.395, 5.307, 7.476, 10.996, 13.333, 71.343, 84.086 ธาตุ Z มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่าใด 

    ก. 1                ข. 4                ค. 6                ง. 7 

16.กำหนดค่า EN ของธาตุดังนี้ A = 3.0 , B = 2.8 X= 2.7 , Y = 3.7 จงเรียงลำดับความแรงขั้วจากมากไปน้อย

ก. A-B , B-X , X-Y     

ข. A-Y , B-X , A-X     

ค. Y-B , A-Y , A-X     

ง. A-X , B-Y , A-Y

17. ถ้า A, B ,C ,D เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 7,11,17 และ 20 ตามลำดับ สูตรของไอออนและสารประกอบไอออนิกในข้อใดถูกต้อง   

ข้อ  

ไอออนบวก  

ไอออนลบ

สูตรสารประกอบไอออนิก  



D2+

A3-

D3A2



C3+

B2-

C2B3



B+

A-

BA



A+

C-

AC

18.เมื่อละลาย KCl ในน้ำเกิดปฏิกิริยาเป็นขั้น ๆ และมีการเปลี่ยนแปลงพลังงาน ดังนี้
1) KCl(s) -----> K+(g) + Cl-(aq)                H1 = 701.2 kJ/mol
2) K+(g) + Cl-(g) -------> K+(aq) + Cl-(aq)      H2 = 684.1 kJ/mol
ปฏิกิริยานี้เป็นแบบใด

    ก. คายพลังงานเท่ากับ 1385.3 kJ/mol           ข. คายพลังงานเท่ากับ 17.1 kJ/mol
    ค. ดูดพลังงานเท่ากับ 17.1 kJ/mol               ง. ดูดพลังงานเท่ากับ 1385.3 kJ/mol



19.สารโคเวเลนต์ชนิดหนึ่งมีสูตร AH3 และรูปร่างโมเลกุลเป็นสามเหลี่ยมแบนราบ อะตอม A ในสารนี้ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ข้อใดที่น่าจะเป็นสมบัติของสาร AH3  

  ก.โมเลกุลมีขั้ว ละลายน้ำ จุดเดือดต่ำ 

  ข.เกิดพันธะไฮโดรเจน จุดเดือดสูง และละลายน้ำได้ 

  ค.โมเลกุลไม่มีขั้ว และมีแรงแวนเดอร์วาลส์ (ลอนดอน) เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล 

  ง.โมเลกุลไม่มีขั้ว แต่เกิดพันธะไฮโดรเจนได้ 




20.ในการเผาไหม้โพรทานอล ( C3H7OH ) 1 โมล ได้ผลิตภัณฑ์เป็น แก๊ส CO2  และ H2O (ไอน้ำ) จะดูดหรือคายพลังงาน กี่กิโลจูลต่อโมล 

     ก. ดูดพลังงาน 1.52 kJ                                  ข.  คายพลังงาน 1,525 kJ
     ค.  ดูดพลังงาน 1,883 kJ                               ง.  คายพลังงาน 1,883 kJ





เฉลยเเบบทดสอบ


1. ง.  เป็นเบส

2. ค. แย่งอิเล็กตรอนกับอะตอมอื่น

3. ง. นำไฟฟ้าได้ทุกสถานะ

4. ก. สารโคเวเลนท์มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย

5. ง. โมเลกุลของธาตุใช้ร่วมกันอยู่ 1 โมเลกุล

6. ก. ไอออนบวก

7. ค. พันธะไฮโดรเจน

8. ข. กฎออกเตต

9. ก. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม

10 ง. โลหะ กับ อโลหะ

11. ก. มากกว่า 587 kJ    

12. ค. Br2 , H2O , H2  

13.ข.เมื่อ X ละลายน้ำ จะดูดความร้อน ทำให้ละลายได้น้อย



14.ค. Y , X , Z      

15.ค.6

16.ค. Y-B , A-Y , A-X    

17.ก

18.ค.ดูดพลังงานเท่ากับ 17.1 kJ/mol               

19.ค.โมเลกุลไม่มีขั้ว และมีแรงแวนเดอร์วาลส์ (ลอนดอน) เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล

20.ข.คายพลังงาน 1,525 kJ


ที่มา http://chemicalbonding.myreadyweb.com/article/topic-62165.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบทดสอบบทที่3

1. สารละลายที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างธาตุ หมู่ 1 กับน้ำ มีสมบัติอย่างไร ก. เป็นกลาง ข. เป็นได้ทั้งกรดและเบส ค. เป็นกรด ง.  เป็นเบส 2. ข้อใดไ...